ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะหลาย ๆ อวัยวะ ได้แก่ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับ
ตับอ่อน ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ซึ่งอวัยวะบางอวัยวะไม่มีการย่อยแต่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร
การย่อยอาหาร เป็นกระบวนการที่ทำให้อาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ มีขนาดเล็กลงจนสามารถซึมเข้าสู่เซลล์ได้
การย่อยมี 2 ลักษณะคือ
1. การย่อยเชิงกล (Mechanical digestion) คือ อาหารที่ถูกฟันบดเคี้ยวทำให้มีขนาดเล็กลงแต่ยังไม่สามารถแปรสภาพอาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ให้มีโมเลกุลเล็กลง
2. การย่อยทางเคมี (Chemical digestion) คือ อาหารเหล่านี้จะถูกย่อยให้เป็นโมเลกุลให้เล็กลงไปอีกโดยเอนไซม์ในน้ำลาย จะมีน้ำย่อยอยู่
การย่อยอาหารจะเริ่มตั้งแต่อาหารเข้าสู่ร่างกายโดยผ่าน ปาก ลิ้น ฟัน ต่อจากนั้นอาหารจะถูกลืนผ่านลำคอไปตามอวัยวะต่าง ๆ
การย่อยอาหารในปาก
ปากเป็นอวัยวะสำคัญเริ่มแรกสำหรับการย่อยอาหารทำหน้าที่เป็นทางเข้าอาหาร ภายในปากมีส่วนประกอบที่สำคัญคือลิ้น ฟันและต่อมน้ำลายการย่อยอาหารในปากจึงมีทั้งการย่อยเชิงกล โดยการบดเคี้ยวของฟัน และการย่อยทางเคมีโดยเอนไซม์อะไมเลส เมื่ออาหารผ่านสู่กระเพาะอาหาร เอนไซม์อะไมเลสจะไม่ทำงานเพราะในกระเพาะอาหารมีกรดไฮโดรคลอริก (อะไมเลสทำงานได้ดีในสภาพเป็นกลาง หรือกรดเล็กน้อย และอุณหภูมิร่างกาย)
หลอดอาหาร
ทำหน้าที่หดตัว บีบอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร เพราะหลอดอาหารมีผนังที่ยึดและหดตัวได้บริเวณคอหอยมีช่องเปิดเข้าสู่หลอดลมและหลอดอาหารส่วนบนของหลอดลมมีแผ่นกระดูกอ่อนปิดกั้นกัน อาหารเข้าไปในหลอดลมขณะกลืนอาหารเรียกว่า ฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis) ภายในโพรงปาก ด้านบนมีเพดานอ่อน (soft palate) ห้อยโค้งลงมาใกล้กับโคนลิ้นขณะที่อาหารผ่านเข้าสู่ลำคอ เพดานอ่อนจะถูกดันยกไปปิดช่องหายใจ อากาศผ่านช่องนี้ไม่ได้ อาหารนั้นจะถูกกล้ามเนื้อลิ้นบังคับให้ผ่านเข้าไปในหลอดอาหารได้พร้อมกับฝาปิดกล่องเสียงจะปิดหลอดลมในขณะที่ส่วนกล่องเสียงทั้งหมด ยกขึ้น ทำให้ฝาปิดกล่องเสียงปิดหลอดลมได้สนิท อาหารจึงเคลื่อนลงไปในหลอดอาหารได้โดยไม่ผลัดตกลงไปในหลอดลม
กระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหาร (Stomach)เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่นๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร
หน้าที่หลักของกระเพาะอาหารคือการย่อยสลายสารอาหารโมเลกุลใหญ่ให้เล็กลงโดยอาศัยการทำงานของกรดเกลือ (hydrochloric acid) เพื่อให้ง่ายต่อการดูดซึมที่ลำไส้เล็ก นอกจากนี้กระเพาะอาหารยังมีหน้าที่ผลิตเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยโปรตีน คือเอนไซม์เพพซิน (pepsin) โดยในช่วงแรก เอนไซม์นี้จะถูกผลิตออกมาในรูปของเพพซิโนเจน (pepsinogen) ที่ยังไม่สามารถทำงานได้ แต่จะถูกเปลี่ยนเป็นเพพซินเมื่ออยู่ในสภาวะที่เป็นกรดภายในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้แล้ว กระเพาะอาหารยังทำหน้าที่ในการดูดซึมน้ำ ไอออนต่างๆ รวมทั้งแอลกอฮอลล์ แอสไพริน และคาเฟอีนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของกระเพาะอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตคือการผลิตสารที่เรียกว่า อินทรินซิค แฟคเตอร์ (intrinsic factor) ซึ่งเป็นสารที่จำเป็นในการดูดซึมไวตามิน บี12
น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
สร้าง pHที่เหมาะสม : gastric juice และ HCl(กรดสูง)
เอนไซม์ : pepsin และ rennin
ย่อย : pepsinย่อย protein และ rennin ย่อย proteinในน้ำนม
ผลที่ได้ : เอนไซม์ pepsin ได้ peptide และเอนไซม์ rennin
ได้ลักษณะเป็นลิ่ม ๆ (Paracasein)
ลำไส้เล็ก (Small Intestine) เป็นส่วนที่ยาวที่สุดของทางเดินอาหาร ต่อมาจากกระเพาะอาหาร มีความยาวประมาณ 7-8 เมตร ผนังด้านในของลำไส้เล็กมีลักษณะเป็นลอนตามขวาง มีส่วนยื่นเล็กๆมากมายเป็นตุ่ม เรียกว่า วิลลัส (Villus พหูพจน์เรียกว่า Villi) เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลำไส้เล็กของคนมีลักษณะคล้ายท่อขดไปมาอยู่ในช่องท้องแบ่งเป็น 3 ตอน คือ
เจจูนัม (Jejunum) ยาวประมาณ 2 ใน 6 ของลำไส้เล็กหรือประมาณ 3-4 เมตร
ไอเลียม (Ileum) เป็นลำไส้เล็กส่วนสุดท้ายปลายสุดของไอเลียมต่อกับลำไส้ใหญ่
บริเวณลำไส้ตอนต้น (Duodenum) จะมีน้ำย่อยจากสามแหล่งมาผสมกับไคม์Chyme = อาหารที่คลุกเคล้ากับน้ำย่อยและถูกย่อยไปบางส่วน มีลักษณะคล้ายซุปข้นๆ) ได้แก่น้ำย่อยจากผนังลำไส้เล็ก (Intestinal Juice)น้ำย่อยจากตับอ่อน (Pancreatic Juice)น้ำดี (Bile) จากตับ (Liver) (ซึ่งนำมาเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี
น้ำย่อยของลำไส้เล็ก (Intestinal Juices) เป็นเอนไซม์ที่สร้างมาจากผนังของลำไส้เล็กเอง ประกอบด้วยเอนไซม์หลายชนิด ดังนี้
ไดเปปดิเดส (Dipeptidase)ย่อยDipeptide ได้ Amino Acid
มอลเทส (Maltase) ย่อย Maltose ได้ Glucose + Glucese
ซูเครส (Sucraes) ย่อย Sucrose ได้Glucose + Fructise
แลกเตส (Lactaes) ย่อย Lactose ได้Glucose + Galactose
ไลเปส (Lipaes) ย่อย Fat ได้Fatty Acid + Glycerol
นอกจากนี้ยังมีเอนไซม์อีกหลายชนิดที่ช่วยย่อยสลายเปปไตด์ (Peptide) จนได้ Amino Acid เช่น Carboxypeptidase และ Aminopeptidase
ตับอ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย
ลักษณะเป็นต่อมขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางด้านหลังของกระเพาะอาหาร ใกล้กับลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัม ซึ่งเป็นลำไส้เล็กส่วนต้น ตับอ่อนทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการผลิตเอนไซม์ไว้ย่อยอาหาร โดยหลั่งน้ำย่อยเข้าไปในลำไส้เล็ก ผ่านทางท่อตับอ่อน หรือที่เรียกว่า pancreatic duct
น้ำดี (Bile) สร้างจากตับ (Liver) แล้วถูกนำไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี (Gall Bladder) ไม่ถือว่าเป็นเอนไซม์ เพราะจะเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม เมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดลงแล้ว (น้ำดีไม่มีน้ำย่อย) มีส่วนประกอบ 3 ส่วนคือ
เกลือน้ำดี (Bile Salt) มีหน้าที่ตีให้ไขมัน (Fat) แตกตัวเป็นหยดเล็กๆ ไขมันที่ถูกตีให้แตกตัวเป็นหยดเล็กๆ เรียกว่า อีมัลชั่น (Emulsion) จากนั้นจึงถูก Lipase ย่อยต่อให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล
รงควัตถุน้ำดี (Bile Pigment) เกิดจากการสลายตัวของฮีโมโกลลิน (Hemoglobin) โดยตับ เป็นแหล่งทำลายและกำจัด Hemoglobin ออกจากเซลล์ เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ โดยเก็บรวมเข้าไว้เป็นรงควัตถุในน้ำดี (Bile Pigment) คือ
บิริรูบิน (Bilirubin) จึงทำให้น้ำดีมีสีเหลือหรือเขียวอ่อน และจะถูกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมน้ำตาล โดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่เกิดเป็นใสในอุจจาระ
โคเรสเตอรอล (Cholesterol) ถ้ามีมากๆ จะทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี เกิดการอุดตันที่ท่อน้ำดี เกิดโรคดีซ่าน (Janudice) มีผลทำให้การย่อยอาหารประเภทไขมันบกพร่อง
ลำไส้ใหญ่
ลำไส้ใหญ่ มีความยาวประมาณ 1.50 เมตร กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
ซีกัม (Caecum) เป็นลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ยาวประมาณ 6.3-7.5 เซนติเมตร มีไส้ติ่ง (Appendix) ยื่นออกมาขนาดราวนิ้วก้อย (ยาวประมาณ 3 นิ้ว) เหนือท้องน้อย ทางด้านขวา ไส้ติ่งถือว่าเป็นต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่ง ในสัตว์กินพืชจะมีขนาดยาว ทำหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหารในคนไม่มีประโยชน์ ถ้าอักเสบต้องรีบผ่าตัดออกโดยเร็ว
โคลอน (Colon) เป็นส่วนที่ยาวที่สุด แบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย คือ
โคลอนส่วนขึ้น (AscendingColon) เป็นส่วนของโคลอนที่ยื่นตรงขึ้นไปเป็นแนวตั้งฉากทางด้านขวาของช่องท้อง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
โคลอนส่วนขวาง (Transverse Colon) เป็นส่วนที่วางพาดตามแนวขวางของช่องท้องยาวประมาณ 50 เซนติเมตร
โคลอนส่วนล่าง (Descending Colon) เป็นส่วนที่วิ่งตรงลงมาเป็นแนวตั้งฉากทางด้านซ้ายของช่องท้อง ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
ไส้ตรง (Rectum) เป็นส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ มีลักษณะเป็นท่อตรง ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ตรงปลายของไส้ตรงจะเป็น ทวารหนัก (Anus) โดยมีกล้ามเนื้อหูรูด 2 อัน ควบคุมการปิดเปิดของทวารหนัก กล้ามเนื้อหูรูดด้านใน ถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ ไม่อยู่ใต้บังคับของจิตใจ ส่วนกล้ามเนื้อหูรูดด้านนอกอยู่ใต้บังคับของจิตใจ และสำคัญมากในการควบคุมการปิดเปิดของทวารหนัก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น